10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก


10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก


เสริมเต้านม ทำให้เกิดมะเร็งมากขึ้นเป็นเรื่องจริง แต่พบน้อยมากๆ และวินิจฉัยยากมาก เป็นมะเร็งที่พบรายงานครั้งแรก มา 20 กว่าปีก่อน แต่ยังไม่มีการเปิดเผยมากนัก เนื่องจากพบน้อยมากๆ แต่รายงานเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีหลังๆ มานี้ หลายชาติมีการตื่นตระหนกของสื่อสังคม และธุรกิจการผลิตซิลิโคน บางชนิดหยุดผลิต หรือสั่งห้ามขายก็มี

เรามารู้ 10 ข้อเท็จจริงที่ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก และ คนที่เสริมหน้าอกไปแล้ว มีซิลิโคนอยู่กับตัวจะต้องปฏิบัติอย่างไร เกี่ยวกับมะเร็งนี้ ขอสรุปให้ฟัง 10 ข้อดังนี้ครับ


10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก


1 มะเร็งนี้คืออะไร เรียกว่า มะเร็งเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ชนิด ALCL ( ไม่ใช่มะเร็งเต้านมครับ เพราะเสริมหน้าอกไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม) แต่มะเร็งเซลล์ต่อมน้ำเหลืองชนิด ALCL นั้น พบในคนที่มีถุงเต้านมซิลิโคนอยู่ในตัว ไม่ว่าจะ ถุงน้ำเกลือ ถุงซิลิโคน ทรงกลม ทรงหยดน้ำ พบรายงานมะเร็งแล้วทุกชนิด

2 พบบ่อยไหม ปัจจุบันซิลิโคนประมาณ 35ล้านชิ้น หลายสิบล้านเคส ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน รายงานการพบมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อยู่ที่ 600กว่าเคส 16รายเสียชีวิต (ประเทศไทยพบมะเร็งนี้แล้ว แต่ยังไม่พบการตาย) แต่เนื่องจาก ความรู้ความระวังในบ้านเรายังน้อย มะเร็งนี้จึงอาจ มีมากกว่านี้แต่ไม่ได้รายงาน ไม่ได้วินิจฉัย

 

3 มะเร็งนี้เกิดได้จากอะไร  มี 3 ทฤษฏี คือ

3.1 เกิดจากถุงซิลิโคน (ชนิดของเปลือกหุ้มและประเภทสารที่บรรจุภายใน)

3.2 เกิดจากพันธุกรรม และภูมิคุ้มกันแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อซิลิโคนไม่เหมือนกัน
3.3 เกิดจากแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนระหว่างผ่าตัด จนฟอร์มตัวเป็นเปลือกบางๆเรียกว่าชั้น ไบโอฟิล์ม (Biofilm) และกระตุ้นการอักเสบเติบโตของมะเร็ง


10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก


4 อาการเป็นอย่างไร : มักจะมาด้วย เต้านมบวม และมีน้ำอยู่ในโพรงเต้านม ส่วนน้อย อาจพบก้อน ร่วมด้วยบริเวณผนังทรวงอกหรือเต้านม มักจะพบหลังเสริมเต้านมไปแล้วเกิน 1 ปี ส่วนมากพบ 8-10 ปี หลังการผ่าตัด บางรายผ่าตัดมาเกิน 15 ปีก็ยังเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้ ดังนั้นทุกคนที่มีซิลิโคนเต้านมมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่มีซิลิโคน


5 การวินิจฉัย ต้องมีความระวัง คิดถึงภาวะนี้ ในทุกเคสที่มีปัญหาผ่าตัดเต้านม หากตรวจพบ มีของเหลว มีก้อน ในโพรงเต้านมและพังผืดที่หนาแข็งจะ ต้องส่งตรวจพิเศษทางการแพทย์ ซึ่งทำได้บาง Lab เท่านั้น ความผิดพลาดอันตรายก็คือเรามักแก้นมโดยไม่ได้ระวังว่าจะเจอภาวะนี้ ทำแค่เปลี่ยนซิลิโคนเฉยๆ ดูดน้ำออก หรือเลาะพังผืดออกโดยที่ไม่ได้ส่งตรวจ ก็จะทำให้พลาดการวินิจฉัย และทิ้งมะเร็ง ALCL นี้ไว้ในร่างกายได้


6 การรักษา : ต้องดูว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร ถ้าเป็นระยะเริ่มต้น อาจทำแค่เอาซิลิโคนออกพร้อมเลาะถุงพังผืดออกทั้งหมดรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองรักแร้ด้วย หากพบว่าโต ถ้าเป็นระยะที่ 2-3-4 ต้องให้ ผ่าตัด เคมีบำบัด ฉายแสง หรือ ยาบำบัดภูมิคุ้มกัน มักต้องทำในโรงพยาบาลขนาดใหญ่


7 สรุปคนที่เคยเสริมแล้วต้องทำอย่างไร                                                               

7.1 รีบพบแพทย์ถ้าเต้านมผิดปกติ ที่บวมตึงเจ็บ แข็ง อักเสบผิดรูป หลังจากการทำหน้าอกไม่ว่ากี่ปีก็ตาม จะ 4-5 เดือน หรือ 10-20 ปี ต้องพบแพทย์โดยด่วนที่สุดเพื่อทำการตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางรังสีเช่น แมมโมแกรมและอัลตราซาวน์                                                               

7.2 ถ้าจะไปผ่าแก้เต้านมต้องคิดถึงภาวะนี้ทุกครั้ง แพทย์ผู้ผ่าตัดควรระวัง เพื่อที่จะไม่พลาดการวินิจฉัยและการรักษาคนไข้                                                                                         

7.3 ไม่มีอาการไม่ต้องถอดออกแต่ต้องคอยติดตาม


10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก

8 คำแนะนำคนที่คิดจะเสริมเต้านม 

8.1 เลือกแพทย์และสถานพยาบาล ที่ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแนะนำ การเกิด การตรวจสอบ วินิจฉัย มะเร็ง ALCL และรักษา หรือ ส่งตัวต่อรักษาได้                                               
8.2 ต้องเก็บข้อมูลของซิลิโคน ที่ใช้ ใบรับรองใบรับประกันอย่างดี
8.3 อย่าลืมว่า สามปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็ง คือ ซิลิโคน/ภูมิคุ้มกัน/การติดเชื้ ดังนั้น การเลือกอย่างระวัง ใช้ซิลิโคนที่เสี่ยงน้อย/คนไข้พันธุ์กรรมดี/การผ่าตัดสะอาดปลอดภัย จากแพทย์ที่ได้มาตรฐานและรับผิดชอบจะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด

9 ความอันตรายที่ซ่อนอยู่คืออะไร                                                                                 

9.1 ใน 5 ของผู้ป่วยมะเร็ง ALCL ไม่มีเต้านมบวม ไม่มีน้ำ เป็นแค่ก้อนภายในไม่มีอาการ   

9.2 พบรายงาน คนที่เสริมหน้าอกเพียง 4 เดือนก็พบมะเร็งชนิดนี้ได้ และพบนานถึง 20 กว่าปี เคสแก้ พบได้มากกว่าเคสใหม่                                                                                    

9.3 การวินิจฉัยแน่ชัดต้องใช้ห้อง Lab พิเศษเท่านั้น ไม่ใช่ทุก Lab จะทำได้ ถ้าคลีนิคที่ไม่มีการส่งแลปตรวจ โอกาสพลาดสูง                                                                                      

9.4 ผู้ชาย สาวสองข้ามเพศ ที่ทำเต้านมก็พบมะเร็งชนิดนี้ได้                                           

9.5 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม และเสริมสร้างเต้านมด้วยซิลิโคน ก็สามารถเป็นมะเร็งชนิด ALCL ซ้ำได้อีก                                                                                                                      

9.6 ยิ่งการผ่าตัด สกปรกไม่มาตรฐาน ติดเชื้อมากเท่าใด ตามทฤษฎี มีโอกาสเกิดมะเร็งนี้มากขึ้น เท่านั้น (เพราะมี biofilm ไบโอฟิล์ม มีการอักเสบเรื้อรังมากขึ้นได้)


10 ปัจจุบันบริษัทต่างๆและวงการแพทย์ตื่นตัวอย่างไรบ้าง

10.1 ในแพคเกจกล่องที่แนะนำผลิตภัณฑ์ ต้องเพิ่มการเตือนเรื่องนี้ในบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดที่เกี่ยวกับซิลิโคน                                                                                                            

10.2 ซิลิโคนบางชนิดจากบางบริษัท เช่น ซิลิโคนผิวทราย ห้ามจำหน่ายในบางประเทศแล้ว  

10.3 ในใบยินยอมก่อนผ่าตัดของแพทย์บางท่าน ได้เพิ่มภาวะนี้ลงไปแล้ว โดยที่เราอาจจะอ่านผ่านๆไม่รู้ตัวก็ได้


10 ข้อเท็จจริง ควรพึงระวังก่อนตัดสินใจเสริมหน้าอก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์