นอกจากหน้าเด็กลงแล้ว! ‘BOTOX’ ยังมีประโยชน์อะไรอีก มาดู


นอกจากหน้าเด็กลงแล้ว! ‘BOTOX’ ยังมีประโยชน์อะไรอีก มาดู

โบท็อกซ์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า Botulinum Toxin type A นับเป็นเทคโนโลยี่ที่ผู้คนในยุคนี้ขาดกันไม่ได้ไปซะแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว จึงช่วยลดเลือนริ้วรอยบริเวณใบหน้าได้เป็นอย่างดี แถมยังใช้แก้ไขรูปหน้าได้อีกต่างหาก แต่นอกเหนือจากความดีงามนี้แล้ว โบท็อกซ์ ก็ยังถูกนำไปใช้รักษาโรคต่างๆ ที่หลายคนยังอาจไม่รู้ด้วย ซึ่งโรคเหล่านั้นล้วนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของคนเรามาก ซึ่งก็ได้แก่...

โรคหนังตากระตุก (Blepharospasms)

สารที่เป็นพิษต่อระบบประสาทในโบท็อกซ์ทำให้เกิดอาการอัมพาตขึ้นชั่วคราว จึงทำให้เส้นประสาทไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับกล้ามเนื้อได้ จึงมีประโยชน์ในการรักษาอาการอะไรที่ไม่ควรเกิดกับกล้ามเนื้อ อย่างเช่น อาการกระตุก จริงๆ แล้วการที่องค์การอาหารและยาในสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในปี 1989 นั้น ก็เนื่องมาจากใช้รักษาโรคหนังตากระตุกได้นั่นแหละ คนที่เป็นโรคนี้จะสูญเสียการควบคุมการสื่อสารกับส่วนหนึ่งของสมอง ที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา เมื่อมีอาการกระตุกที่ควบคุมไม่ได้ เซลล์ประสาทพวกนั้นก็จะส่งสัญญาณที่ผิดจากปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการกระตุกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงมากๆ คนไข้ก็ไม่สามารถลืมตาเพื่อดูอะไรได้เลย ซึ่งในกรณีนี้โบท็อกซ์จะเข้าไปหยุดยั้งการสื่อสารในจุดเชื่อมต่อประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อกลายเป็นอัมพาตขึ้นชั่วคราว และอาการหนังตากระตุกก็จะหายไป

อาการตาเหล่ (Strabismus)

อาการตาเหล่เป็นอีกโรคหนึ่งที่ใช้โบท็อกซ์รักษาแล้วได้ผลเป็นอย่างดี อาการตาเหล่อาจเป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บในบริเวณดวงตา ซึ่งถึงแม้จะแก้ไขอาการตาเหล่ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ แต่บางครั้งแพทย์ก็ลองใช้โบท็อกซ์รักษาอากาดูก่อน ฉะนั้นวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ไม่อยากได้รับการผ่าตัด ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีรักษาอาการตาเหล่ได้ในระยะยาวด้วย

โรคสายเสียงหดเกร็ง (Spasmodic dysphonia)

โรคสายเสียงหดเกร็งจะทำให้เกิดเสียงสั่น ฝืนธรรมชาติ หรือแหบห้าว ซึ่งไม่ถือเป็นความบกพร่องทางการพูด แต่เป็นโรคทางระบบประสาทมากกว่า คนที่เป็นโรคนี้จะได้รับสัญญาณที่ผิดปกติจากสมอง และเกิดอาการกระตุกที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งมีผลกระทบต่อเสียง ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่สายเสียง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอ่อนเปลี้ยขึ้นนิดนึง ก็จะช่วยให้คนไข้สามารถเปล่งเสียงได้อย่างราบรื่นและคงที่มากขึ้น


โรคน้ำลายไหล (hypersalivation)

เมื่อเราฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่ต่อมน้ำลาย ก็จะทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นเป็นอัมพาติ และหยุดผลิตน้ำลายออกมามากเกินไป ซึ่งสามารถช่วยให้คนที่เป็นโรคนี้มีอาการที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้นด้วย

อาการเหงื่ออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)

มีหลักฐานยืนยันได้ว่าการฉีดโบท็อกซ์ ช่วยรักษาอาการเหงื่อมากผิดปกติในบริเวณรักแร้ มือ เท้า ศีรษะ หรือใบหน้าได้อย่างปลอดภัยและได้ผลดี นอกจากนี้ยังช่วยลดการผลิตเหงื่อในบริเวณที่ฉีดได้มากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่เหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณมือ ผลการศึกษาวิจัยก็แสดงให้เห็นว่าช่วยรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้เหงื่อจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิ แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการฉีดซ้ำในการรักษาผู้ที่เป็นโรคนี้ ก็ถือว่ามีความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

โรคปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง

ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนคงยิ้มกันหน้าบาน เมื่อมีการอนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในการรักษาโรคปวดหัวไมเกรนเรื้องรังเมื่อปี 2010 ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้มักต้องทนทุกข์กับอาการคลื่นไส้ ตาสู้แสงไม่ได้ และอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณศีรษะ ซึ่งอาจรวมถึงอาการเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อหนังศีรษด้วย โดยคุณหมอจะฉีดโบท็อกซ์ในบริเวขมับ ด้านหลังคอ และบริเวณฐานศีรษะ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้มีอาการเจ็บปวดลดลง อีกบริเวณหนึ่งที่คุณหมออาจจะฉีดโบท็อกซ์ด้วย ก็คือบริเวณแสกหน้าหรือบริเวณหว่างคิ้ว เนื่องจากการขมวดคิ้วก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้เหมือนกัน

อาการทางตาจากโรคไทรอยด์

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการตึงบริเวณหนังตา ทำให้ตาดูเหลือกหรือบวมได้ หนังตาไม่สามารถเลื่อนลงไปปกป้องบริเวณดวงตาได้ ทำให้ดวงตาแห้งและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ในบริเวณหนังตา เพื่อทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอ่อนแอลง ทำให้ลืมตาหรือหลับตาได้เป็นปกติมากขึ้น

เครดิตแหล่งข้อมูล : th.hellomagazine.com

นอกจากหน้าเด็กลงแล้ว! ‘BOTOX’ ยังมีประโยชน์อะไรอีก มาดู

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์