#เมาไม่ขับ อันนี้ต้องท่องไว้และทำตามนะครับ อย่างที่เรารู้กันดีว่า กฎหมายบ้านเรากำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ว่าต้องไม่เกิน 50 มก./ดล. (ตามประกาศกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 16/2537 ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) จึงเป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวังและปฏิบัติตาม
เรารู้กันหรือไม่ว่า หน่วยสากลในการกำหนดการดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คือ "ดื่มมาตรฐาน" หรือ "Standard Drink" โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 ดริงค์ (Drink) จะมีปริมาณของแอลกอฮอล์ 10 กรัม ซึ่งสามารถเพิ่มระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ถึง 15 - 20 มก./ดล. สามารถเทียบเท่ากับเครื่องดื่มแต่ละประเภท ได้ดังนี้ครับ
#เบียร์สด เบียร์ไลท์ (ระบุที่ด้านข้างบรรจุภัณฑ์ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 4%) ==> 1 กระป๋อง = 1 ดริงค์ (Drink)
#เบียร์เข้มข้น (ระบุที่ด้านข้างบรรจุภัณฑ์ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 8-10%) ==> 1/2 กระป๋อง = 1 ดริงค์ (Drink)
#ไวน์ (4-7%) ==> 1 กระป๋อง = 1 ดริงค์ (Drink)
#ไวน์ (12%) ==> 1 แก้วเล็ก (ประมาณ 100 มิลลิลิตร) = 1 ดริงค์ (Drink)
#เหล้าขาว 28-30-40 ดีกรี (28-40 %) ==> 1 - 2 เป็ก = 1 ดริงค์ (Drink)
(ประมาณ 30-60 มิลลิลิตร ตามความเข้มข้น) เป็นต้น
วิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น
- หลังดื่มเบียร์ 8 ดีกรี 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร) ไวน์ไทย หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5 ดีกรี 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร) จะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด < 50 มก./ดล.
- แต่ถ้าดื่มเบียร์ 8 ดีกรี 2 ขวด (1,260 มิลลิลิตร) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะ > 50 มก./ดล.
- และหลังดื่ม 2 ชั่วโมง ก็ยังมีระดับแอลกอฮอล์ > 50 มก./ดล. แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ดื่มนะครับ
Self-limit drinking คือ ปริมาณการดื่มอย่างปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงน้อยในหนึ่งวัน) เป็นเกณฑ์ที่มีการศึกษามาแล้ว และได้แนะนำว่า
- ผู้ชาย ไม่เกิน 4 ดื่มมาตรฐาน (Standard Drink)
- ผู้หญิงไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน (Standard Drink)
- ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐาน (Standard Drink)
เอาเป็นว่า ขอให้ดื่มในปริมาณที่พอดี ๆ ก็แล้วกันนะครับ และถ้าดื่มแล้วก็ไม่ควรขับขี่รถเพื่อความปลอดภัยของเราและคนอื่น ๆ ครับ
#ท่องเที่ยวปลอดภัยสุขใจวันสงกรานต์ครับ