พระสิริโฉมสง่างาม! ‘พระราชินีสุทิดา’ ในฉลองพระองค์ชุดไทย
หน้าแรกTeeNee เพื่อผู้หญิงทันสมัย แฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องประดับ พระสิริโฉมสง่างาม! ‘พระราชินีสุทิดา’ ในฉลองพระองค์ชุดไทย
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงานเลี้ยงรับรองพระประมุข ประมุข และผู้แทนของประเทศต่างๆ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (Coronation Day) ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่า และในเช้าวันที่ 6 พฤษภาคมยังได้ทรงเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ของราชวงศ์อังกฤษอีกด้วย
ในการนี้ จึงได้รวบลุคทั้งหมดของ พระราชินีสุทิดา ช่วงงานฉลอง Coronation Day มาฝากแฟนๆ ทุกคนกัน
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่า ถือเป็นงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร เนื่องด้วยเป็นงานฉลองขึ้นครองราชย์ในรอบ 70 ปี หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปีค.ศ. 1953 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้จัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สำหรับฉลองพระองค์ในวันแรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปถึงประเทศอังกฤษ พระราชินีสุทิดา ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานสีฟ้าอ่อน ตัดเย็บขึ้นจากผ้าไหมยกดอกลำพูน ลายพิกุลถมเกสร ซึ่งเป็นผ้าทอมือที่ขึ้นชื่อเรื่องความประณีตงดงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของภาคเหนือ อันเกิดจากเทคนิคการทอผ้าด้วยการยกลวดลายให้สูงกว่าผืนผ้า
ลวดลายส่วนใหญ่ของผ้าไหมยกดอกลำพูนจะมาจากธรรมชาติ และลายดอกพิกุลถือเป็นหนึ่งในลวดลายที่ได้รับความนิยมและเป็นเอกลักษณ์มากที่สุด เพราะเป็นลวดลายผ้าโบราณที่ใช้กันมาแต่อดีต
โดยปัจจุบันลายดอกพิกุลได้รับการพัฒนาออกแบบให้ทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พิกุลเครือ พิกุลมีขอบ พิกุลก้านแย่ง พิกุลเชิงใหญ่ พิกุลเล็ก พิกุลใหญ่ พิกุลสมเด็จ พิกุลกลม รวมถึงพิกุลถมเกสรเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันที่ขนาดของดอกพิกุลและสีสันของเส้นไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง นั่นเอง
ในการนี้ จึงได้รวบลุคทั้งหมดของ พระราชินีสุทิดา ช่วงงานฉลอง Coronation Day มาฝากแฟนๆ ทุกคนกัน
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่า ถือเป็นงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร เนื่องด้วยเป็นงานฉลองขึ้นครองราชย์ในรอบ 70 ปี หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปีค.ศ. 1953 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้จัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สำหรับฉลองพระองค์ในวันแรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปถึงประเทศอังกฤษ พระราชินีสุทิดา ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานสีฟ้าอ่อน ตัดเย็บขึ้นจากผ้าไหมยกดอกลำพูน ลายพิกุลถมเกสร ซึ่งเป็นผ้าทอมือที่ขึ้นชื่อเรื่องความประณีตงดงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของภาคเหนือ อันเกิดจากเทคนิคการทอผ้าด้วยการยกลวดลายให้สูงกว่าผืนผ้า
ลวดลายส่วนใหญ่ของผ้าไหมยกดอกลำพูนจะมาจากธรรมชาติ และลายดอกพิกุลถือเป็นหนึ่งในลวดลายที่ได้รับความนิยมและเป็นเอกลักษณ์มากที่สุด เพราะเป็นลวดลายผ้าโบราณที่ใช้กันมาแต่อดีต
โดยปัจจุบันลายดอกพิกุลได้รับการพัฒนาออกแบบให้ทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พิกุลเครือ พิกุลมีขอบ พิกุลก้านแย่ง พิกุลเชิงใหญ่ พิกุลเล็ก พิกุลใหญ่ พิกุลสมเด็จ พิกุลกลม รวมถึงพิกุลถมเกสรเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันที่ขนาดของดอกพิกุลและสีสันของเส้นไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง นั่นเอง
นอกจากการเลือกทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังทรงเครื่องขัตตยราชวราภรณ์ พระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ พระปั้นเหน่งดวงตรามหาจักรีประดับเพชร กระกุณฑลจักรี และสร้อยพระศอเพชร ซึ่งเครื่องประดับทุกชิ้นล้วนเป็นของตกทอดมาจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกด้วย
และเครื่องประดับชิ้นที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ "เข็มกลัดพระอุระ" อันมีความพิเศษตรงที่เป็นเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝั่งหนึ่ง และเป็นพระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระศรีวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า อีกฝั่งหนึ่งคู่กัน
พระราชินีสุทิดา ยังคงเลือกทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานอีกครั้ง สำหรับวันงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( Coronation Day ) โดยเปลี่ยนมาเป็นพระภูษาผ้ายกลำพูนสังเวียนประเภทผ้ายกใหญ่ ลายดอกพิกุลหลวง
และเครื่องประดับชิ้นที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ "เข็มกลัดพระอุระ" อันมีความพิเศษตรงที่เป็นเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝั่งหนึ่ง และเป็นพระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระศรีวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า อีกฝั่งหนึ่งคู่กัน
พระราชินีสุทิดา ยังคงเลือกทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานอีกครั้ง สำหรับวันงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( Coronation Day ) โดยเปลี่ยนมาเป็นพระภูษาผ้ายกลำพูนสังเวียนประเภทผ้ายกใหญ่ ลายดอกพิกุลหลวง
สำหรับที่มาของชื่อชุดไทยบรมพิมานนั้น ได้รับการตั้งตามชื่อพระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมักจะถูกนำมาสวมใส่ในงานพระราชพิธีและงานพิธีกลางคืน โดยมีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว คอกลมขอบตั้ง ตัวเสื้อและผ้าซิ่นติดกันเป็นชุดเดียว ตัดเย็บด้วยผ้าไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว นุ่งจีบด้านหน้าแล้วคาดทับด้วยเข็มขัด
นอกเหนือจากความพิเศษของฉลองพระองค์ชุดไทยแล้ว เครื่องประดับที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงในวันงานฉลองขึ้นครองราชย์ยังงดงามไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น สายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ พระสังวาลนพรัตน์ ดารานพรัตน์ เข็มกลัดดวงตรามหาจักรีประดับเพชร พระปั้นเหน่งนพรัตน์ ทองพระกรเพชร และ สร้อยพระศอและพระกุณฑลไพลินประดับเพชรเข้าชุด อันเป็นเครื่องประดับที่ตกทอดมาจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
นอกเหนือจากความพิเศษของฉลองพระองค์ชุดไทยแล้ว เครื่องประดับที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงในวันงานฉลองขึ้นครองราชย์ยังงดงามไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น สายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ พระสังวาลนพรัตน์ ดารานพรัตน์ เข็มกลัดดวงตรามหาจักรีประดับเพชร พระปั้นเหน่งนพรัตน์ ทองพระกรเพชร และ สร้อยพระศอและพระกุณฑลไพลินประดับเพชรเข้าชุด อันเป็นเครื่องประดับที่ตกทอดมาจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เก็บตกภาพบรรยากาศขณะ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จออกพระราชวังบัคกิงแฮม พร้อมด้วย เจ้าชายวิลเลี่ยม และแคเธอรีน เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงรับพระประมุขจากนานาประเทศ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ปิดท้ายกันไปด้วยภาพบรรยากาศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ขณะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยราชวงศ์จากนานาประเทศ เพื่อไปทรงร่วมเป็นสักขีพยานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งจัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!