ประมวลพระฉายาลักษณ์ พระราชินีฉลองพระองค์ชุดไทยอมรินทร์
หน้าแรกTeeNee เพื่อผู้หญิงทันสมัย แฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องประดับ ประมวลพระฉายาลักษณ์ พระราชินีฉลองพระองค์ชุดไทยอมรินทร์
ฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ พระภูษายกดอกลำพูน ลายเยียรบับเล็ก
ทรงเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระรูป สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์(ฝ่ายใน)
ทรงเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระรูป สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์(ฝ่ายใน)
ผ้าเยียรบับ - บางทีเรียกว่า ส้ารบับ ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย คือ ซ่าระบับ หมายถึง ผ้าที่ทอด้วยทองแล่งกับไหม แต่มีไหมน้อยกว่าทองแล่ง คำดังกล่าวมาจากคำว่า Zar ซึ่งแปลว่า ทอง และคำว่า Baft ที่แปลว่า ผ้าฝ้าย หรือผ้าไหม ดังนั้นคำว่า Zarbaft จึงหมายถึง ผ้าที่ทอยกดอกเงินหรือทอง โดยมีลักษณะการทอ คือ การนำแผ่นเงินกาไหล่ทองมาแผ่บางๆ หุ้มเส้นไหม ซึ่งเรียกกันว่า ไหมทอง นำไปทอกับไหมสี ยกเป็นลวดลาย ดอกดวงเด่นชัดด้วยทอง จัดเป็นผ้าชั้นดี
ฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ พระภูษายกดอกลำพูน ลายดอกพิกุลกลม
ทรงเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๔ และทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ทรงเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๔ และทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ดอกพิกุล ในศิลปกรรมไทย ปรากฏใน ทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานวิจิตรศิลป์ รวมถึงงานหัตถกรรมหลากสาขา ต่างมีลวดลายของดอกพิกุลทั้งสิ้น และยังส่งผลต่อพุทธศิลป์ ดั่งปรากฏ ลวดลายดอกพิกุล ในจีวรลายดอก
ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ราชสำนักมีธรรมเนียมถวายผ้าจีวรที่มีลวดลายดอกไม้อย่างที่เรียกว่า "จีวรลายดอก" แด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิ จดหมายเหตุบัญชีผ้าพระกฐินและผ้าไตร จ.ศ. ๑๑๘๗ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๖๘) และภาพถ่ายพระสงฆ์ในช่วงนั้น กล่าวกันว่าการถวายจีวรลายดอกน่าจะเกิดขึ้นมาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตเฉพาะลายดอกไม้ขนาดเล็ก ไม่กาววาว (สีสันไม่ฉูดฉาด ไม่แวววาว) จีวรลายดอกที่นิยมถวายกันในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงทำจากผ้าที่นำเข้ามาจากแคว้นเบงกอล เป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางละเอียด ทอลายดอกไม้ขนาดเล็กทั้งผืน เรียกว่า "ผ้าย่ำตะหนี่" (Jamdani) นำมาตัดเย็บและย้อมด้วยน้ำฝาดตามพระวินัย ด้วยเหตุนี้ ความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปและพระสาวกบางกลุ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ลงมา จึงได้ถอดแบบมาจากการนุ่งห่มของพระสงฆ์จริง ๆ โดยครองจีวรลายดอกหลายรูปแบบ เช่น ลายดอกพิกุล ลายใบเทศ และลายพุ่มข้าวบิณฑ์
แม้ว่าการถวายจีวรลายดอกแด่พระสงฆ์จะลดลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จนหายไปในที่สุด ทว่ายังปรากฏการสร้างพระพุทธรูปหรือพระสาวกที่ครองจีวรลายดอกสืบต่อมาจนกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ที่ไม่พบในงานศิลปกรรมสมัยอื่นของไทย
ฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ พระภูษายกดอกลำพูน
ลายเพชรพิกุล สลับกลีบ ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์
อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์(ฝ่ายใน)
ลายเพชรพิกุล สลับกลีบ ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์
อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์(ฝ่ายใน)
ดอกพิกุล เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะเป็นดอกเล็กกลีบแหลม มีสีขาว ในล้านนามีการนำดอกไม้ชนิดนี้มาถวายบูชาพระทั้งแบบสดหรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงธูป หรือใช้ดอกแห้งแช่น้ำรวมกับฝักส้มป่อยเพื่อให้น้ำมีกลิ่นหอมและมีสีเหลืองนวลเป็น "น้ำมุรธาทิพย์" เสกขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีทั้งปวงและใช้ขอขมาต่อผู้ใหญ่ หรือเอาอาบรดตัวเพื่อเป็นสิริมงคล และเชื้อว่า เมื่อนำลวดลายมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า จะทำให้เกิดความสิริมงคล แก่ผู้สวมใส่
ลายดอกพิกุล เป็นลวดลายผ้าโบราณที่มีการออกแบบสำหรับทอผ้ายกลำพูนในอดีต ซึ่งต่อมาได้มีการออกแบบลวดลายดอกพิกุลที่หลากหลายขึ้น เช่น พิกุลเครือ พิกุลมีขอบ พิกุลก้านแย่ง พิกุลเชิงใหญ่ พิกุลถมเกสร พิกุลเล็ก พิกุลใหญ่ พิกุลสมเด็จ และพิกุลกลม เป็นต้น ซึ่งแต่ละลวดลายจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันคือ ขนาดของดอกพิกุล และสีสันของเส้นไหมหรือดิ้นเงิน ดิ้นทองที่กำหนดลงไปให้แตกต่างกัน
ฉลองพระองค์ชุดไทยอมรินทร์ ผ้าไหมพื้นเรียบ พระภูษาผ้ายกดอกลำพูน ลายกระจังตาอ้อยสี่กลีบก้านแย่ง ถมเกสร
ทรงเข็มกลัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า(ฝ่ายใน)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ สีวันพระราชสมภพ คือสีชมพู ทรงรอบรู้และเอาพระทัยใส่ในศิลปะวิทยาการต่าง รวมถึงเป็นยุคแรกที่มีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมของไทย พระองค์ทรงก่อตั้งกรมช่างไหม โรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูกและการทอผ้าไหม โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ
สืบต่อมาครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงมีพระเมตาฟื้นฟูศิลปการทอผ้าไหมยกดอก เป็นผ้าที่มีความสวยงามและต้องใช้ฝีมือขั้นสูงในการทอ ด้วยลวดลายของผ้ามีความหลากหลายและซับซ้อน ผู้ประดิษฐ์ต้องมีความวิริยะอุตสาหะและมีจินตนาการในการทอเป็นอย่างมาก ถึงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
-
ทรงเข็มกลัดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า(ฝ่ายใน)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ สีวันพระราชสมภพ คือสีชมพู ทรงรอบรู้และเอาพระทัยใส่ในศิลปะวิทยาการต่าง รวมถึงเป็นยุคแรกที่มีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมของไทย พระองค์ทรงก่อตั้งกรมช่างไหม โรงเรียนสอนเกี่ยวกับการปลูกและการทอผ้าไหม โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ก่อให้เกิดการพัฒนาวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและเทคโนโลยีการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้เครื่องทอผ้าไหมแทนมือ
สืบต่อมาครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงมีพระเมตาฟื้นฟูศิลปการทอผ้าไหมยกดอก เป็นผ้าที่มีความสวยงามและต้องใช้ฝีมือขั้นสูงในการทอ ด้วยลวดลายของผ้ามีความหลากหลายและซับซ้อน ผู้ประดิษฐ์ต้องมีความวิริยะอุตสาหะและมีจินตนาการในการทอเป็นอย่างมาก ถึงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
-
ฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ พระภูษายกดอกลำพูน ลายแก้วล้อม ลายแก้วมงคล
ทรงเข็มพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
ทรงเข็มพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสายสะพายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
ดอกแก้ว ดอกไม้มงคลสีขาว สื่อถึงความดี การมีจิตใจผ่องใส และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมัวหมอง เชื่อกันว่าการปลูก ดอกแก้ว จะทำให้ "มีคนรักดั่งแก้วตาดวงใจ" เพราะแก้วเป็นสิ่งที่มีความใสสะอาดดอกแก้วนั้น
ดอกแก้ว นอกจากจะมีสีขาวครีมนวลตา และกลิ่นหอมเย็นแล้ว ยังเหมาะกับการปลูกในบ้านเนื่องจากเป็นไม้มงคล โดยในสมัยโบราณมักนิยมปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้าน เพราะคำว่าแก้วนั้นสื่อถึงของมีค่าหรือของที่ไว้ใช้บูชา ทั้งดอกแก้วยังเป็นดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ สื่อถึงความใสสะอาด คนไทยโบราณจึงเชื่อว่าบ้านไหนปลูกต้นแก้ว จะทำให้ครอบครัวพบเจอแต่สิ่งดี ๆ ทำให้คนในครอบครัวมีจิตใจเบิกบาน และกลิ่นของดอกแก้ว ช่วยบำบัดความเครียดซึ่งทำให้จิตใจสงบได้
น้ำทิพย์ สุคลฑา น้ำหอมแห่งพลังศรัทธา และปาฏิหาริย์ปรุงด้วยกลิ่นดอกไม้ที่มีความหมายเป็นมงคล ๙ ประการ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!