เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี

เมื่อเวลา 17.59 น. วันที่ 29 มีนาคพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดพิจิตร ซึ่งมี นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ข้าราชการ และประชาชน เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ที่ทำการศาลจังหวัดพิจิตร ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร



ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Her Majesty Queen Suthida Fanpage ได้มีการเปิดเผยที่มาที่ไปฉลองพระองค์ของ พระราชินี ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาเครื่องแต่งกายชนชาวไท เป็น
(เสื้อปั๊ด) ผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี

จังหวัดพิจิตร มีกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน ๑๐ ชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ไทยพื้นถิ่น ไทยเชื้อสายจีน ไทยพวน ไทยทรงดำ ไทยอีสาน ไทยมุสลิม ไทยลาวญวน ลาวครั่ง ไทยพวน และไทยเวียดนาม มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ที่อยู่อาศัย อาหาร การแต่งกาย ภาษา อาชีพ และศิลปะพื้นถิ่นของทุกกลุ่มชาติพันธ์ และในแต่ละชาติพันธุ์ยังเอกลักษณ์ในการสร้างลวดลายผ้าทอพื้นถิ่นของต้น เช่น มัดหมี่ จก ปัก เป็นต้น

"เสื้อปั๊ด" หากจะขยายความ ปั๊ด หรือ ป้าย น่าจะมีรากมาจากการที่ต้อง "ปั๊ด" หรือ "ป้าย" เฉียงมาผูกไว้ข้างเอว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก ซึ่งขึ้นอยู่กับท้องถิ่นของผู้นุ่ง เช่น "เสื้อปั๊ดจ้าง" หรือ "เสื้อแขบ" หรือ "เสื้อป้ายข้าง"

เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เสื้อปั๊ด เป็นลักษณะรูปแบบเสื้อแขนยาว สาบเสื้อสองเฉียงด้านเกยทับกัน มีเชือกสำหรับมัดที่ปลายสาบเสื้อทั้งสองข้าง มักตัดให้เข้ารูปพอดีตัว บริเวณไหล่ต่อแขนตรง เมื่อมองเผิน ๆ คล้ายกับเสื้อฮันบกของเกาหลี หรือกิโมโนญี่ปุ่นแบบตัดให้รัดรูป เสื้อลักษณะนี้ ชาวไทเรียกว่า "เสื้อปั๊ด" หรือ "เสื้อป้าย" เป็นรูปแบบที่นิยมกันมากในชนชาวไทลื้อ ในสิบสองปันนา ไทยและลาว ชาวไทเขินแห่งเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ชาวลาวผู้ดีแห่งเมืองหลวงพระบาง นอกจากนี้ยังพบในกลุ่มไทยวนแห่งเมืองน่าน และเมืองเชียงใหม่อีกด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาก็ว่าได้

เสื้อปั๊ดนั้นถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่อาจเป็นไปได้ว่าชนชาวไทลื้อ สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ได้รับรูปแบบเสื้อดังกล่าวมาจากชาวจีนมายาวนานหลายร้อยปีแล้ว ก่อนที่ความนิยมดังกล่าวจะแพร่หลายลงสู่ดินแดนตอนใต้ ทำให้พบในกลุ่มไทยวนแห่งล้านนาและชาวลาวแห่งอาณาจักรล้านช้างด้วย

เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เสื้อปั๊ดได้รับความนิยม ในชนชาวไทกลุ่มต่าง ๆ แต่ก็มีการทำไปใช้ในลักษณะแตกต่างกัน เช่น เสื้อปั๊ดแบบชาวไทลื้อ มักตัดจากผ้าสีดำหรือสีครามตกแต่งด้วยแถบกุ๊นผ้าหลากสีและริบบิ้นจีน ส่วนชาวไทเขินจะตัดจากผ้าพื้นสีเรียบไม่ตกแต่งมาก ชาวไทลาวเน้นการตกแต่งเป็นพิเศษบริเวณคอเสื้อด้วยการปักไหมเงินไหมทองให้เป็นลวดลายวิจิตร ในขณะที่ชาวไทยวนจะตัดให้มีตัวหลวมโคร่ง สำหรับสวมใส่ในฤดูหนาว ซับในด้วยผ้าสีแดง ที่เรียกกันว่า "เสื้อก๊บหลองในแดง"

 


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี


เผยที่มาฉลองพระองค์ พระราชินี ในชุดผ้าไหมมัดหมี่ ลายขอปลี

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Her Majesty Queen Suthida Fanpage


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์