ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลแม่ข่าย และโรงพยาบาลสนาม ที่เปิดให้บริการรักษาผู้ติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เฝ้าฯ รับพระราชทานถุงพระราชทานกำลังใจ เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019



ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรวาลายเกาะ "สืบสาน รักษา ต่อยอด พระปณิธาน"

ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง เสด็จมาพำนัก ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสนิกรของพระองค์ และเสด็จมาที่ อ.คำม่วง ณ ขณะนั้นมีหญิงชาวบ้านโพน อ. คำม่วง จ. กาฬสินธุ์ จำนวน ๙ คน แต่งกายด้วยชุดภูไท ใส่เสื้อดำแขนยาวผ่าอก พร้อมผ้าเบี่ยง ทรงทอดพระเนตรเห็นชาวบ้านโพนแต่งกายไม่เหมือนใคร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง มีพระราชดำรัสถามว่า " มาจากไหน ทำไมแต่งกายแบบนี้" หญิงชาวบ้านตอบว่าเป็นชาวผู้ไท บ้านโพน ท่านเลยขอจับผ้าดู ท่านมีพระราชดำรัสถามต่อไปว่า " อยากจะได้ จะได้ไหมจ๊ะ" ชาวบ้านตอบว่าได้

ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


รุ่งเช้า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนนีพันปีหลวง ทรงให้ราชเลขาฯ เอาเส้นไหมไปให้ ๙ กิโลกรัมเพื่อทำผ้าแพรวา เมื่อชาวบ้านได้รับเส้นไหม จึงแบ่งกันทอได้ ๑๑ ผืน เป็นผ้ายอย หรือผ้าเบี่ยง ซึ่งเป็นผ้าหน้าแคบแบบมีเชิง ๒ ข้าง ยาว ๒ เมตรกว่า ในปีเดียวกันนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวบ้านและข้าราชการเข้าเฝ้าที่ตำหนักไกลกังวล เมื่อทรงรับผ้า พระองค์มีพระราชดำรัสสั่งให้เจ้าหน้าที่เกษตรหรือฝ่ายพัฒนาชุมชนจัดตั้งกลุ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมา

ผ้าแพรวาเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผ้าทอมือที่มีความวิจิตรสวยงาม ซึ่งเป็นที่นิยม นำผ้าแพรวาไปตัดเย็บเครื่องแต่งกาย จนกระทั่งผ้าแพรวาได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกาฬสินธุ์ 

ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


คำว่า "ผ้าแพรวา" มีความหมายรวมกันคือ ผ้าทอเป็นผืนแบบหน้าแคบ มีความยาวขนาด ๑ วา หรือ ๑ ช่วงแขน แต่เดิมนั้นผ้าแพรวาเป็นผ้าห่มตัวซึ่งเป็นของใช้ของสตรี มีประโยชน์หลายประการ ที่ใช้กันมาก เช่น ใช้ห่มเฉียงไหล่ (เบี่ยงแพร เบี่ยงบ้าย) หรือสไบ ใช้รัดหน้าอกหรือเคียนอก และใช้ปูสำหรับกราบพระ

ลวดลายในผ้าแพรวาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑.ลายหลักหรือดอกลายคือลายที่มีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของลายหลักคือ ลายนอก ลายใน และลายเครือ
๒. ลายคั่นหรือลายแถบ เป็นลายที่มีขนาดเล็กอยู่ในแนวขวางของผืนผ้า ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งลายหลักออกเป็นช่วงสลับกันไป
๓. ลายเชิงหรือลายช่อปลายเชิง คือลายที่อยู่ตรงช่วงปลายของลายผ้าทั้งสองข้าง ทำหน้าทีเป็นตัวเริ่มต้นและตัวจบของลายผ้า


ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


นอกจากนี้ผ้าแพรวายังแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ

๑. แพรวาเกาะ ซึ่งดั้งเดิมใช้วิธีทอจกลวดลายหลักด้วยสีขาว เหลือง เขียว กรมท่า ในพื้นแดงโทนต่างๆ ของครั่ง ลวดลายหลักอาจเหมือนกันทั้งผืนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ และอาจมีลายท้องซึ่งเป็นแบบโบราณ
๒. แพรวาจกดาว ใช้วิธีทอจกเช่นกัน แต่จะจกเป็นจุดเล็กๆ ทั่วผืนผ้า คล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า
๓. แพรวาล่วง เป็นแพรวาที่ใช้เส้นไหมสองสี คือ สีของพื้น (ไหมยืน) และสีของเส้นไหมพุ่งที่เพิ่มพิเศษ บางทีก็เรียกแพรวาขิด
ปัจจุบันผ้าแพรวามีขนาดหน้าผ้ากว้างขึ้น อาจมีรูปแบบเปลี่ยนไปบ้างตามความนิยมของผู้บริโภค แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แบบดั้งเดิม


ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา


ถอดความหมายฉลองพระองค์ “พระราชินี” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Her Majesty Queen Suthida Fanpage


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์